18 August 2008

One month to...





The Bartlett!

Am i ready or WHAT?

14 August 2008

contemporary architecture and its material

A Daily Dose of Architecture today published a story about how the manipulation of glass is reinterpreted in contemporary architecture. A century ago, glass was widely embraced in modern architecture as an innovative material that ended the separation of the inside from the outside in the form of "curtain walls" - a planar, two-dimensional slate of glass that we're familiar with. Some of my personal favourite examples include:

The Philip Johnson Glass House, CT


Crown Hall, Illinois Institute of Technology


"Today, says ADDoA, glass is seen less simply. Instead its presence is explored via a number of procedures, from casting and bending to silkscreening and other surface enhancements. One aspect of this is the transformation of curtain walls from two-dimensional surfaces to three-dimensional, vertical terrains." The examples representative of this breakthrough are:

Trutec Building in Seoul, Korea


The Spertus Institute of Jewish Studies in Chicago


The last example is conveniently located in the heart of Chicago, across from the famous Millennium Park and the Art Institute. so yeah, pretty high-traffic. Since it lies on one of the main streets, I had to pass by the buildings several times when I was in Chicago earlier this year. And yes, the real thing is pretty stunning especially when "read" in comparison to the adjacent buildings, making the otherwise strictly flat facade of the entire block now look subversively irregular.

Andrew Ballantyne, the author of A Very Short Introduction to Architecture remarks that the architecture of today's museums are highly politicised and that the temporality and indeed exterior material display of architecture does not necessarily have to match that of the content inside. Most of American art museums are housed in Neoclassical architecture (in order to borrow the highness of classical architecture to make a certain legitmacy claim, of course) although they of course do not show simply Greco-Roman artefacts. Similarly, the fancy outrageous architecture of the Guggenhiem Museum in Bilbao, Spain by far surpasses the modest calibre of the artworks, the raison d'etre of the museum inside. Here too, the Spertus Institute as an educational institute for Jewish studies enjoys the "modern" facade that more commonly comes to be associated with furniture showrooms, design studios, high-end boutiques, financial headquarters or technologically innovative sciences like architectural design, engineering, and the like. Of course, I'm not saying contemporary architecture strictly belongs to the glossy showroom types (seeing as I agree on the occasional lack of connection between architecture and its content), but what makes the Spertus all the more noteworthy is that the building at the corner, the famous cutting-edged Columbia College and its affiliate Museum of Contemporary Photography which is housed in a relatively normal-looking building. This is fun to think about.

Like sculptors, some architects are good at manipulating tradtional materials they have at hand. They can follow the intrinsic physical quality of such material. Or they can revert the convention and make something that surpasses the commonly perceived quality. This reminds me of a lecture on neolithic jade art in my Chinese art class I took last fall. Prof. Bickford showed us two contrasting examples, the first of which was the jade cabbage where the artist worked on the given combination of white and green texture and accordingly made a cabbage of out it. The second contrasting example (which I unfortunately cannot find a picture of) was a painstakingly woven bracelet made of sculpted jade. The artist basically gave a flowing, malleable look to his work, so the work looks more like green threads woven together with the same sensiblity as a cloth bracelet. Clearly, these architects and jade craftsmen are so highly sharp-eyed that they somehow saw plasticity in rock-hard materials us normal people don't. Artistic flair is timeless man :)





08 August 2008

ปารีสที่เห็นจริงต่างจากที่ฝันไว้เยอะ



การเดินทางเที่ยวฝรั่งเศสครั้งนั้นเริ่มต้นที่การนั่งรถบัสฝ่าหิมะจากเมือง Providence ที่เรียนอยู่มาที่ Logan International Airport ใน Boston ตอนแรกนึกว่าจะไม่ได้ไปซะแล้วเพราะหิมะของ New England เดือนมกราตกหนักไม่แพ้ใคร แต่โชคดีที่เค้าสามารถเคลียร์รันเวย์ได้ ทุกคนในเที่ยวบินNorthwest จาก Boston ไป Amsterdam ในวันนั้นจึงอย่างสบายใจ



เมื่อลงเครื่องที่ Amsterdam ก็ประหลาดใจมากที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของที่นั่น (จะว่าไปแล้วก็เกือบทุกที่ทั่วโลก) เข้มงวดน้อยกว่าอเมริกาเยอะ เจ้าหน้าที่สาวหน้าตาใจดีพูดทักทายอย่างแจ่มใสด้วยภาษาอังกฤษที่ชัดเจน คล่องแคล่ว พร้อมสำเนียงน่ารักๆของท้องถิ่น เธอถามคำถามทั่วไปไม่กี่คำถามแล้วก็ปล่อยให้เราผ่านไปประตูรอต่อเครื่องพร้อมกับพูดว่าขอให้เที่ยวให้สนุกในปารีส คิดๆไปแล้วด่านตรวจคนเข้าเมืองที่นี่เทียบได้กับด่านถามคำถามครั้งแรกก่อน check-in ที่ airport ในอเมริกาเท่านั้นเอง ท้องฟ้าที่ Amsterdam ของตอนเช้าวันนั้นอาจจะขมุกขมัวไปบ้างแต่พอพระอาทิตย์ขึ้นตอน 7 โมงเช้าทุกอย่างก็สว่างขึ้นเยอะ เราเลยใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงเศษๆก่อนขึ้นเครื่องเดินเที่ยวตามร้าน duty free ต่างๆ ดูการออกแบบภายในของสนามบินที่นี่ก็คล้ายๆกับ Charles de Gaulle ที่ฝรั่งเศส แล้วก็ยังมีส่วนคล้ายคลึงกับสนามบินสุวรรณภูมิของเราอีกด้วย แต่หลังจากนั้นไม่นานพนักงานสายการบิน Air France เที่ยวบิน Amsterdam – Paris ก็ประกาศให้ผู้โดยสารขึ้นเครื่องเพื่อออกเดินทาง การเดินทางเครื่องบินของเราก็จะสิ้นสุดแล้ว แต่การเดินทางจริงๆก็กำลังจะเริ่มขึ้นในอีกไม่ถึง 2 ชั่วโมง ตื่นเต้นครับ


สนามบิน Charles de Gaulle ใหญ่มากแต่ทุกอย่างก็เป็นระเบียบ ระหว่างที่เดินลงมาที่ luggage claim ก็เริ่มเห็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมการเมืองของฝรั่งเศสเป็นระยะๆ เริ่มจากป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่เรียกร้องให้ทุกคนสนใจการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ Darfour ทำให้เราย้อนกลับไปคิดถึงบรรยากาศสนามบินในอเมริกาหรือในเมืองไทยที่แทบจะไม่มีการรณรงค์ทางการเมืองให้เห็นเลย ส่วนใหญ่จะเป็นโฆษณาเชิงพาณิชย์ซะมากกว่า



การเดินทางมาเที่ยวปารีสครั้งนี้ต้องขอบคุณเพื่อนใจดีที่ให้พักเพราะตัวเค้าเองก็มาเรียนที่มหาลัยวิทยาลัยปารีสหนึ่งเทอมก่อนบินกลับอเมริกาพร้อมกัน การเดินทางจากสนามบินมาเจอเพื่อนคนนี้ที่ที่พักของเขาในย่าน Monmartre ก็ไม่ยากแต่อาจจะไกลไปนิด เพราะต้องลากกระเป๋าเดินทางใบใหญ่หนึ่งใบพร้อมเป้สะพายหลังที่ใส่laptopมา (ซึ่งก็ไม่ได้ใช้) แล้วนั่งรถไฟจากสนามบินมายัง Gare du Nord ระหว่างทางก็มึนๆงงๆ อยู่ไม่น้อยเพราะยังเหนื่อยจากการเดินทางเกือบสิบชั่วโมง และจาก Amsterdam ก็ไม่ได้นอนเพราะเจอคุณแม่ชาวอเมริกันที่นั่งติดกันชวนคุยตลอดทาง พร้อมกับปล่อยกลิ่นไวน์ทางลมหายใจทุกครั้งที่เธอพูด ตลอดเส้นทางก็ชมวิวชานกรุงปารีสไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกคล้ายๆกับชานเมืองใหญ่อื่นๆที่กำแพงคอนกรีตที่มี graffiti สีจัดจ้าน และก็มีกลุ่มหมู่บ้านๆเล็กๆตามเส้นทางรถไฟที่ทอดยาวไปตามท้องฟ้าสีเทา พอนั่งไปซักพักก็ ถึงในเมืองปารีสแล้ว จากนั้นก็ต้องนั่ง Metro จาก Gare du Nord ไปยังสถานี Pigalle เพื่อนก็มารับแล้วพาลากกระเป๋าขึ้นเนินไปที่ห้องเล็กๆของเค้าใน apartment เล็กๆที่หนึ่งในย่าน Montmartre

สองสามวันแรกในปารีสก็จะมึนๆเล็กน้อยเนื่องจาก jetlag และก็ยังฟังไม่รู้เรื่องทั้งหมด แต่หลังจากนั้นก็ดีขึ้นเรื่อยๆ จำได้ว่าวันอาทิตย์แรกที่ไปถึงก็ตะลุยเข้าพิพิธภัณฑ์ต่างๆ เพราะวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนจะเปิดให้เข้าฟรี นับว่าเป็นนโยบายที่ดีเพื่อส่งเสริมคนให้สนใจศิลปะ จำได้ว่าได้ไปดูพิพิธภัณฑ์ Guimet ซึ่งเป็นที่เก็บศิลปะเอเชียทั้งจิตกรรมและประติมากรรมจากที่ต่างๆในเอเชีย ได้ไปพิพิธภัณฑ์ Rodin ประติมากรเลื่องชื่อของโลกเจ้าของผลงานชิ้นเด่นอย่าง La porte de l’enfer หรือ le penseur





นอกจากนี้พวกเราก็ได้ไปพิพิธภัณฑ์และสถานที่แสดงศิลปะที่ทุกคนรู้จักกันดีจาก Musée du Louvre และ Musée d’Orsay ที่จัดแสดงภาพวาดชิ้นสำคัญๆของจิตกรยุโรปจากหลายสมัยหลายประเทศแต่ที่ที่ประทับใจที่สุดคงจะเป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆที่ชื่อว่า Musée Jacquemart-André ตั้งอยู่ที่ถนน Haussman ด้วยบรรยากาศสถานที่ที่เป็นคฤหาสน์ (hôtel particulier) แบบศตวรรษที่ 19ที่ภายในยังคงความงดงามแบบสมัยเดิม การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ในวันนั้นเลยได้ทั้งชมภาพวาดที่สวยงามและบรรยากาศของที่จัดแสดงที่แปลกไปจากเดิม



ถึงแม้การไปปารีสในครั้งนี้จะเหมือนการไปเยือนแบบนักท่องเที่ยว แต่พวกเราก็ไม่ลืมที่จะพยายามทำความรู้จักกับเมืองๆนี้เหมือนอย่างที่คนท้องถิ่นรู้จัก ปารีสประกอบด้วย 20 เขตซึ่งแต่ละเขตก็จะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของตัวเอง ถ้าใครได้ดูเรื่อง Paris, je t’aime (2006) ก็จะพอรู้สึกว่าเป็นอย่างไร (ถึงแม้ทั้ง 20 ย่านจะเป็นการตีความส่วนตัวของผู้กำกับทั้ง 20 คนก็ตาม) และแน่นอนตลอดเวลา 2-3 สัปดาห์เราพักอยู่ที่ Montmartre ตลอดจึงทำให้เรารู้จักและผูกพันกับย่านนี้มากกว่าที่อื่น ภูมิประเทศของ Montmartre เป็นเนินเขาซึ่งภายล่างที่ก็คือโลงละคร Moulin Rouge และ Pigalle ย่านโลกีย์ชื่อดังนั่นเอง เวลาพวกเราเดินผ่านไปมาบริเวณนั้นเวลากลางคืนก็จะถูกเรียกให้ ใช้บริการเป็นระยะ


สถานที่ชื่อดังของย่านนี้อีกที่ก็คือโบสถ์ Sacré-Cœur ซึ่งสร้างภายโดยชาวคาธอลิกหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ด้วยความที่ Montmartre เป็นที่เนินอยู่แล้ว พอเราขึ้นไปบริเวณของ Sacré-Cœur จึงทำให้จุดๆนี้เป็นจุดชมวิวชั้นยอดที่หนึ่งของเมืองปารีส แต่มีข้อเตือนระวังอย่างหนึ่งก็คือตรงทางขึ้นจะมีคนพยายามขายเส้นสิญจน์ให้โดยที่ทำท่าทีเข้ามาพูดคุยแล้วก็จับผูกให้ที่นิ้วเลย สุดท้ายก็จะขอเงินแลกเปลี่ยน วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือไม่หยุดคุยด้วยหรือตอบโต้ตั้งแต่แรกพบ




Montmartre ที่คอหนังจะรู้จักดีอีกในฐานะที่เป็นสถานที่ถ่ายทำของหนังดังอย่าง Amélie (2001) ของผู้กำกับ Jean-Pierre Jeunetตัวละครเอกของเรื่องก็คือ Amélie สาวน้อยที่มาทำงานเป็นเด็กเสิร์ฟอยู่ในคาเฟ่แห่งหนึ่งที่ทุกคนรู้จักในนาม Café Amélie ซึ่งในความเป็นจริงแล้วชื่อจริงๆของคาเฟ่แห่งนี้คือ Café des 2 moulins (ซึ่งพวกเราก็ได้มีโอกาสเข้าไปชิมหนึ่งครั้งและพบว่า...สำหรับเมืองที่มีมาตรถานด้านการกินการอยู่ระดับสูงมาก รสชาติอาหารแบบนี้ถือว่าหาได้ทั่วไป)




Monmartre ไม่ใช่ย่านการค้าที่โด่งดังแต่เป็นย่านที่สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่แบบคนฝรั่งเศสได้อย่างดีคือแต่ละร้านค้าจะขายสินค้าแต่ละประเภทให้แก่คนที่อยู่อาศัยเช่น ร้านขายขนมผัง ร้านเบเกอรี่ ร้านขายปลา ร้านขายชีส ร้านขายเครื่องเทศในย่าน ดังนั้นความคิดเป็น supermarket เป็นอิทธิพลจากภายนอกที่กำลังแพร่เข้ามา และแน่นอนก็ได้รับการต่อต้านอยู่ไม่น้อย


ปารีสที่เห็นจริงต่างจากที่ฝันไว้เยอะไม่น่าเชื่อว่าถึงแม้จะเป็นเมือง metropolitan แต่ก็ห่างจากความเป็น cosmopolitan อยู่เยอะ ปารีสวันนี้ก็ยังไม่เหมือนกับลอนดอน ฮ่องกง หรือนิวยอร์ก เพราะหลายๆอย่างยังคงความเป็นธรรมเนียมเดิมอยู่มาก คนยังซื้อขนมปัง baguette ที่ร้านที่คุ้นเคย ซื้อชีวจากร้านที่เคยซื้อ ทุกอย่างก็วนเวียนอยู่ในย่านที่ตัวเองอยู่








คืนหนึ่งที่จะไม่มีวันลืมในย่าน Montmartre คือครั้งแรกที่เมาไวน์มากที่สุดในชีวิต วันนั้นชวนเพื่อนไปกินร้านฟองดูซึ่งอยู่ใกล้ๆ apartment ร้านนี้ได้ข่าวว่าเป็นร้านฟองดูที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งที่ขายแต่ฟองดูอย่างเดียว ภายในร้านมีเพียงโต๊ะยาวๆอยู่สองข้างทางเดิน พอนั่งปุ๊บเจ้าของร้านก็เดินมาทักทายอย่างเป็นกันเอง โดยถามคำแรกและคำเดียวว่าขาวหรือแดง?” และเดินกลับมาพร้อมกับไวน์ 3 ที่ซึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะรู้ทรงพิเศษซึ่งก็คือ...ขวดนม ซึ่งแน่นอนว่าจำทำให้ความถี่ของการดื่มเพิ่มขึ้น เมื่อเริ่มดึกขึ้นพวกเราเริ่มไม่ได้สนใจคนอื่นในร้าน กลัวว่าเสียงตัวเองตัวเองดังไม่พอ เลยเริ่มตะโกนคุยกันเอง 3 คนแข่งกับเสียงหัวเราะของโต๊ะรอบข้าง และเสียงน้ำมันที่เดือดพล่านของโต๊ะตัวเอง จากปกติเป็นคนไม่กินเนื้อ รสชาติของไวน์ในคืนนั้นทำให้เราลืมกลิ่นของเนื้อไปซะสนิท สุดท้ายก็เริ่มสงสัยกันว่าไวน์ที่กินกันอยู่ไม่น่าจะใช่ไม่จำกัดจำนวนอย่างที่คิดไว้ในตอนแรก กว่าจะรู้ตัวอีกที พวกเราสามคนก็ไปเดินอยู่กลางถนนเล็กๆเพื่อจะกลับห้อง ระหว่างเดินก็ท้ากันว่าใครเดินตรงกว่า โดยมีเพื่อนคนหนึ่ง (ซึ่งคงไม่รู้สึกตัว 100%) คอยบอกกับคนที่ผ่านไปผ่านมาแล้วหัวเราะว่าเพื่อนชั้นเมา เพื่อนชั้นเมา ทั้งที่ตอนนั้นยังไม่ถึงสี่ทุ่มเลย สุดท้ายพวกเราก็กลับไปถึงห้องของเพื่อนซึ่งอยู่ชั้น 4 แล้วก็นอนหลับไป... แต่ผ่านไปไม่นานทุกคนก็ตื่นขึ้นมาตอนตี 4 เพราะนอนไม่หลับ ก็เปิดดีวีดีเรื่อง The Devil Wears Prada (2006) และพบว่าตอนท้ายของหนังเนื้อเรื่องมาเกิดขึ้นที่ปารีสเมืองเดียวกับที่พวกเรานั่งๆนอนๆมึนหัวอยู่ตอนนั้นนี่เอง แล้วก็อดยิ้มไม่ได้ที่ตอนหนึ่งตัวละครพูดว่า “America is my country but Paris is my hometown.” และพอฟ้าเริ่มสว่างพวกเราก็หลับไป